วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วันแม่

สิ่ง ที่ข้าพเจ้าจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้เป็นเรื่องราวชีวิตของ " แม่ " เป็นเรื่องราวและบทบาทชีวิตฃองผู้เป็นแม่นี้ "ยิ่งใหญ่ไพศาล รักลูกเท่าชีวา" เรื่องมีอยู่ว่า วัน อังคาร์ ที่ 25 มิถุนายน 2544 ช่วงเวลา 22:00-23:00 มีเสียงความเจ็บปวดและเสียงเด็กทารกร้อง ผมได้ถือกำเนิดลืมตาดูโลกครั้งแรก แม่เจ็บปวดมากแต่ยังมีรอยยิ้มกว้างๆ มองผม ผมตอนเด็กๆซนมาก เคยเถียงแม่แอบโกรธแม่ตลอดมา จนวันหนึ่งผมเถียงแม่จนแม่ผมเงียบและเดินเข้าห้องไปอยู่นาน ผมจึงเดินเข้าไปเห็นแม่นั่งร้องไห้อยู่ ผมจึงเข้าไปกอดแม่ ขอโทษแม่ จากนั้นตลอดมาผมไม่เคยเถียงแม่อีกเลยแล้ววันหนึ่งที่บ้านผมตอนนั้นช๊อตเงิน มากๆ ผมเรียนอยู่ ป.4 ผมกลับมาบ้านหิวมาก พอเดินเข้าไปผมเห็นแม่นั่งนิ่งๆๆ น้ำตาไหลที่ละนิด      ผมเดินเข้าไปถามแม่ เป็นไรไหมแม่เงียบแล้วลูบหัวผมเบาๆ แม่บอกว่าตอนนี้เราไม่มีเงินเหลือเลย ผมหิวมากแต่ผมก็กัดฟันกลืนน้ำตัวเองแล้วหลับไป ต้องบอกได้เลยนะครับว่า ช่วงนั้นแย่มาก ตอนนั้นผมอยู่ ป.5 บ้านทำงานค้าขายพอช่วงนั้นเศรษกิจดีขึ้น ผมกับเพื่อนและแน่นอนครับว่าต้องทำเรื่องไม่ดีแน่และผมก็อยากให้แม่อยากลอนนี้คือ

รักใดเล่ารักแน่เท่าแม่รัก ผูกสมัครลูกมั่นมิหวั่นไหว
ห่วงใดเล่าเท่าห่วงดังดวงใจ ที่แม่ให้กับลูกอยู่ทุกครา
ยามลูกขื่นแม่ขนตรมหลายเท่า ยามลูกเศร้าแม่โศกวิโยคกว่า
ยามลูกหายแม่ห่วงคอยดวงตา ยามลูกมาแม่หมดลดห่วงใย

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

นิทานเศรษฐกิจพอเพียง ยายยิ้มกับตาแปะ





ที่มา  https://www.youtube.com/watch?v=wtrkWcZIhqw

การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง






ที่มา  https://www.youtube.com/watch?v=20eFA7QNBgA

การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง






ที่มา  https://www.youtube.com/watch?v=f8JMmkAlUro 

เศรษฐกิจพอเพียง

๑. ข้อเท็จจริง
Sufficiency-Economy๑.๑ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๙) ได้อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลางและความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนการใช้ความรู้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจและการกระทำ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับนำหลักปรัชญาฯ ไปเป็นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ประชาชนอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข สังคมมีความเข้มแข็ง และประเทศชาติมั่นคง
๑.๒ อย่างไรก็ดี เนื่องจากในปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนและมีการตีความที่
หลาก หลายเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงเสนอให้ริเริ่มการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสานต่อ ความคิดและเชื่อมต่อการขยายผล แนวทางการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายในปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การนำหลักปรัชญาฯไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาค ส่วนของสังคมอย่างจริงจัง
๑.๓ สำนักงานฯ ได้เสนอ (ร่าง) การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ต่อคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา ในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๗/๒๕๔๖ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๖ และคณะกรรมการฯ มีมติให้ความเห็นชอบต่อ (ร่าง) ดังกล่าว ว่าเป็นเรื่องที่ดี ควรสนับสนุน โดยมีข้อเสนอแนะให้เน้นการมีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม วิธีการที่หลากหลายในการสร้างความรู้ความเข้าใจ การวัดผลสำเร็จเชิงคุณภาพควบคู่ไปกับเชิงปริมาณ และให้ความเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้คณะกรรมการฯ เพื่อเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนฯต่อไป
๒. สาระสำคัญ

๒.๑ เป้าหมาย

การสร้างขบวนการขับเคลื่อนฯ มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างกระแสสังคมให้มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบ ความคิดหรือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ในหมู่ประชาชนทุกภาคส่วน และทุกระดับ โดยมีวัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนฯ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนประชาชนทุกภาคส่วนและทุกระดับให้สามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ใช้ในลักษณะที่สอดคล้องกับหน้าที่และบทบาทของแต่ละบุคคลได้อย่าง เหมาะสม และท้ายที่สุดนำไปสู่การปลูกฝังปรับเปลี่ยนจิตสำนึกและกระบวนทัศน์ในการดำรง ชีวิตตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับระบบ และโครงสร้างการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ ยุทธวิธีในการขับเคลื่อนจะมีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนและชัดเจน
Economy5

๒.๒ แผนการดำเนินการ

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น การสร้างขบวนการขับเคลื่อนฯ จะมีขอบเขตการดำเนินงาน ๔ แผนงาน ควบคู่กันไปดังนี้
  • แผนงานเชื่อมโยงเครือข่ายเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอ เพียง โดยสร้างแกนกลางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อทำหน้าที่ขยาย เชื่อมโยง และพัฒนาเครือข่ายแห่งการเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนสนับสนุนความร่วมมือระหว่างเครือข่าย ให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ร่วมกัน เพื่อให้สามารถเผยแพร่ให้ประชาชนในภาคส่วนต่างๆ นำเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ และขยายผลได้อย่างต่อเนื่อง
  • แผนงานพัฒนาวิชาการและส่งเสริมการศึกษาวิจัย โดยพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในด้านต่างๆ ที่ชี้ให้เห็นแนวทาง วิธีการ ตลอดจนประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการ ดำเนินชีวิต การพัฒนาวิชาการจะเน้นการวิจัยเชิงนโยบาย เพื่อให้มีแนวทางเลือกในการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ และการสร้างระบบเตือนภัยเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในสังคม
  • แผนงานสร้างหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ โดยสร้างรูปแบบของกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ต่างๆ เช่น ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน วิทยากรกระบวนการ ครู ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักการเมือง เป็นต้น ให้มีโอกาสไตร่ตรองและเรียนรู้จากการปฏิบัติ จนสามารถตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ แล้วเกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ น้อมนำเอาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไป ทั้งนี้ การสร้างรูปบบกระบวนการเรียนรู้นี้ จะเน้นการร่วมคิด ร่วมทำเพื่อหารูปแบบ การหาตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม และเหมาะสม ตลอดจนสร้างความพร้อมของแต่ละกลุ่มเป้าหมายให้สามารถนำไปดำเนินการต่อได้ เองอย่างต่อเนื่อง
  • แผนงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และรณรงค์เพื่อสร้างกระแส สังคม โดยสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในวงกว้าง ปลูกฝังค่านิยม และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนคำนึงถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้ กลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่จะต้องมีวิธีการและรูปแบบในการสื่อสาร เพื่อการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งสอดคล้องกับเนื้อหาและแนวคิดของหลักปรัชญาฯ 

๒.๓ กลไกการดำเนินการ

การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงจำเป็นต้องมี แกนกลางในการขับเคลื่อนฯ และเป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ การจัดการควรจะอยู่ในรูปแบบมูลนิธิเพื่อความมีประสิทธิภาพและความคล่องตัวใน การระดมพลังและทรัพยากรจากทุกภาคส่วน โครงสร้างการบริหารจัดการจะเป็นกลไก ๓ ระดับ ดังนี้
  • ระดับที่ ๑ คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิเศรษฐกิจพอเพียง ทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ เชิงแนวทาง และข้อพึงพิจารณาในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
  • ระดับที่ ๒ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่ประสานเครือข่ายทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติให้เกิดการนำ เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในภาคส่วนต่างๆของสังคม กำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมหลักๆของการดำเนินงาน ตลอดจนจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมภายใต้แผนงานในการสร้างขบวนการขับ เคลื่อนฯ และให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน
  • ระดับที่ ๓ ส่วนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งภายในสำนักงานฯ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ และเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเบื้องต้นของเครือข่าย ดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางที่คณะอนุกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบ และรับผิดชอบการดำเนินงานในภาคปฏิบัติ ตลอดจนการบริหารจัดการทั่วไป

๒.๔ ระยะเวลาดำเนินการและงบประมาณ

การ ดำเนินการขับเคลื่อนฯ มีระยะเวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น ๔ ปี ๓ เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๖ ถึงเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ โดยจะแบ่งการดำเนินการออกเป็น ๒ ระยะ เพื่อประเมินผลการดำเนินการและปรับแนวทางการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และความก้าวหน้า โดยจะเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ระยะที่หนึ่ง ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๘ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสครบรอบวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครบ ๕๕ ปี ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร และจะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายผลการดำเนินงานระยะที่สองเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบ ๘๐ พรรษา ในเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ ทั้งนี้ ประมาณการงบประมาณในการดำเนินงานตาม ๔ แผนงานข้างต้น ตลอดระยะเวลา ๔ ปี ๓ เดือน รวมทั้งสิ้น ๑๒๐ ล้านบาท
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงนี้ จะเป็นการเสริมพลังในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่เน้นการพึ่งตนเอง และการอยู่ได้อย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรีในเวทีโลก เพราะแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับ การเสริมสร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมในระดับรากหญ้าให้เข้มแข็ง ในขณะที่ส่งเสริมการพัฒนาประเทศให้มีเสถียรภาพในระดับระหว่างประเทศ สามารถปรับตัว เลือกรับสิ่งที่เป็นประโยชน์ และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆจากทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ และนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยในที่สุด

Economy1


ที่มา  http://www.sufficiencyeconomy.org/ความเป็นมา.html

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ซอฟต์แวร์ (อังกฤษ: software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง [1] หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ

ประเภทของซอฟต์แวร์


หน้าจอของโปรแกรมประยุกต์ เว็บเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์
การแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น
  1. การแบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักคือ
  2. การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
    • ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license
    • ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน (Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่าง ๆ เฉพาะกิจกรรมไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น
  3. การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
    • ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
    • ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
    • ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น
                                                                                                                                 ที่มา   https://th.wikipedia.com